รีโนเวทบ้าน

รีโนเวทบ้าน

รีโนเวทบ้าน

รีโนเวทบ้าน คืออะไร คำว่า renovate (รีโนเวท) ในภาษาอังกฤษ แปลว่า ทำใหม่,ซ่อมแซม,ปรับปรุงใหม่,ทำให้มีชีวิตฃีวาใหม่ หรือทำให้กลับสู่สภาพเดิม ค่ะ ดังนั้นการ รีโนเวทบ้าน ก็จะหมายความตรงตัว นั่นก็คือการซ่อมแซมบ้านให้กลับมามีชีวิตชีวาใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเฉพาะในส่วนของภายในตัวบ้านเอง หรือแม้แต่การตกแต่งแก้ไขปรับปรุงภายนอกก็ตาม    เหตุผลที่คนทั่วไป ต้องการปรับปรุงซ่อมแซมบ้านเสียใหม่ มีหลายประการแตกต่างกันไปค่ะ อาทิเช่น- บ้านเดิมอยู่มานานแล้ว มีสภาพเสื่อมโทรมลงเรื่อยๆ ตามกาลเวลา – ต้องการขยายเนื้อที่การใช้สอยของตัวบ้าน ให้เหมาะสมกับผู้ที่อยู่อาศัยในปัจจุบัน – ต้องการซ่อมแซมส่วนที่ชำรุดสึกหรอของตัวบ้าน เพื่อให้กลับมาใช้งานได้เป็นปกติ – ไม่ต้องการซื้อบ้านใหม่ เนื่องจากมีงบประมาณจำกัด – รักในทำเลของบ้านเดิม ต้องการปรับปรุงบ้านให้สวยงาม,ทันสมัยขึ้น บ้านโมเดิร์นสีขาว มีความน่าอยู่อาศัยมากขึ้น

ราต่างรู้กันดีว่าการรีโนเวทบ้านไม่ใช่เรื่องง่ายที่สามารถตัดสินใจและลงมือทำได้ภายในวันเดียว อีกทั้งงบประมาณในการรีโนเวทบ้านของแต่ละคนที่เคยเจอมาก็มักจะใช้เกินงบประมาณที่ตั้งไว้ตลอด จึงทำให้หลาย ๆ คนจำต้องทนอยู่กับสภาพแวดล้อมในบ้านเดิม ๆ เพราะยังไม่มีงบประมาณที่เพียงพอ ในวันนี้เราขอนำคำแนะนำดี ๆ เกี่ยวกับการใช้งบประมาณในการแต่งบ้านมาฝากกัน ไปดูกันดีกว่าว่า

การรีโนเวทบ้านควรจะทำอย่างไรบ้างให้งบไม่บานปลาย

1. กำหนดงบประมาณที่คุณจะใช้สำหรับการรีโนเวทบ้าน แต่ละส่วนให้ชัดเจนอย่างเช่น ค่าแบบ ค่าวัสดุ ค่าแรงต่าง ๆ เพื่อคุมให้อยู่ในงบประมาณที่ตั้งไว้

2. ลิสต์รายชื่อวัสดุและอุปกรณ์ต่าง ๆ สำหรับการรีโนเวทบ้าน จากนั้นก็จัดลำดับความสำคัญของอุปกรณ์ โดยคำนวณจากความความจำเป็นของอุปกรณ์แต่ละชนิด

3. ก่อนการรีโนเวทบ้าน ไม่ควรจ่ายเงินทั้งหมดให้กับผู้รับเหมา แต่ควรแบ่งจ่ายให้กับผู้รับเหมาเป็นงวด ๆ เพราะหากผู้รับเหมาทำงานได้ไม่ตรงกับความต้องการ คุณก็ยังสามารถเปลี่ยนผู้รับเหมาได้

4. ควรศึกษาข้อมูลและทำความเข้าใจเกี่ยวกับการรีโนเวทบ้าน และขอคำแนะนำต่าง ๆ เกี่ยวกับผู้รับเหมาจากผู้เชี่ยวชาญหรือคนรอบข้างเอาไว้ให้มาก ๆ เพราะช่วงที่คุณรีโนเวทบ้าน ผู้รับเหมาจะต้องเข้าออกบ้านคุณบ่อย ๆ ดังนั้นควรใช้คนที่คุณรู้สึกไว้ใจได้เท่านั้น

5. พยายามควบคุมการใช้จ่ายให้อยู่ภายในงบประมาณที่ตั้งไว้ แต่ก็ควรตรวจสอบให้มั่นใจด้วยว่าของนำมาใช้ในการรีโนเวทบ้าน เป็นของที่ได้คุณภาพตรงตามสเปคที่วางเอาไว้จริง ๆ

6. ควรหาเวลาเดินตรวจสอบราคาของวัสดุจากแหล่งต่าง ๆ และเลือกซื้อวัสดุเหล่านั้นด้วยตัวเองบ้าง เผื่อจะได้ของราคาถูกกว่าที่ผู้รับเหมาหาได้

7. ควรจำเอาไว้ว่าการรีโนเวทบ้าน ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนโครงสร้างของบ้านใหม่ แค่การเปลี่ยนสีผนัง เปลี่ยนพรม หรือเฟอร์นิเจอร์ใหม่ ก็ถือว่าเป็นการรีโนเวทบ้านได้เหมือนกัน ดังนั้นหากคุณไม่อยากเสียเงินก้อนใหญ่ อาจจะโละของเก่าแล้วนำของใหม่มาแทนที่ก็ได้

8. อย่าลืมตรวจเช็กปริมาณของสี และวัสดุแต่งบ้านบางอย่างด้วยว่า มีปริมาณพอกับความต้องการกับการใช้หรือไม่ เช่น สีทาบ้าน กระเบื้อง เป็นต้น โดยควรเตรียมสี และกระเบื้อง สำรองเอาไว้รองรับเหตุการณ์ในอนาคตด้วย อย่างเช่น ใช้แต่งแต้มบริเวณแทนสีหลุดลอก หรือบริเวณที่มีรอยเปรอะเปื้อนต่าง ๆ เผื่อว่าวันหนึ่งอาจจะไม่มีสีโทนที่คุณใช้อยู่ หรือลายกระเบื้องแบบเดียวกันให้เลือกซื้ออีก

9. ควรจ่ายเงินก้อนสุดท้ายให้กับผู้รับเหมาต่อเมื่อเสร็จสิ้นการรีโนเวทบ้าน ทุกขั้นตอน และทุกอย่างได้ตามความต้องการของคุณแล้วเท่านั้น ไม่อย่างนั้นคุณคงต้องแบกรับความเสี่ยงในความรับผิดชอบของผู้รับเหมาเอาไว้เองให้ปวดหัว

10. หากมีความผิดพลาด หรือ จุดบกพร่อง จากการทำงานของผู้รับเหมา ต้องรีบคุยกันให้เข้าใจเพื่อให้ทำการแก้ไขให้เรียบร้อย อย่าใจอ่อนคิดว่าไม่เป็นไรเด็ดขาด เพราะไม่อย่างนั้นคุณอาจต้องเสียเงินในการซ่อมแซมเพิ่มขึ้นในภายหลังได้นะคะ การรีโนเวทบ้านไม่ใช่เรื่องยากและน่ากลัวเลยสักนิด เพียงแค่คุณศึกษาข้อมูลไว้ล่วงหน้าและนำคำแนะนำเหล่านี้ไปใช้เท่านั้น คุณก็สามารถรีโนเวทบ้านได้อย่างสบายใจ และสบายกระเป๋าสตางค์ของคุณ เพราะไม่ต้องกลัวว่างบจะบานปลายอีกแล้วล่ะ ลไว้ล่วงหน้าและนำคำแนะนำเหล่านี้ไปใช้เท่านั้น คุณก็สามารถรีโนเวทบ้านได้อย่างสบายใจ และสบายกระเป๋าสตางค์ของคุณ เพราะไม่ต้องกลัวว่างบจะบานปลายอีกแล้วล่ะ

รีโนเวทบ้านหรือสร้างใหม่ อะไรคุ้มกว่ากัน

1. วัตถุประสงค์ที่ต้องการนำมาใช้งาน

ขั้นตอนแรกก่อนที่จะเริ่มลงมือ คุณต้องทราบวัตถุประสงค์ที่จะปรับปรุงบ้านเพื่อนำมาใช้งานก่อน เช่น ขยายพื้นที่เพื่อรองรับคนในครอบครัวที่มากขึ้น เปลี่ยนให้มีห้องมากขึ้นเพื่อปล่อยเช่า ดัดแปลงด้านล่างเพื่อเปิดร้านอาหาร ฯลฯ จากนั้นจึงค่อยวางแผนว่า ระหว่างรื้อสร้างใหม่กับรีโนเวทบ้านแบบไหนจะตอบโจทย์กับความต้องการมากกว่ากัน ยกตัวอย่างเช่น ต้องการปรับเปลี่ยนพื้นที่ชั้นล่างของบ้านเพื่อเปิดเป็นร้านอาหาร คุณอาจไม่ต้องถึงกับรื้อทิ้งสร้างใหม่ทั้งหลัง แต่เพียงรีโนเวทชั้นล่างของบ้านให้มีพื้นที่กว้างพอที่จะวางโต๊ะ และสร้างห้องครัวใหม่ เพื่อให้สามารถเปิดเป็นร้านอาหารได้

2. ตรวจสอบโครงสร้างของบ้านในปัจจุบัน

อีกสิ่งหนึ่งที่จะทำให้คุณสามารถตัดสินใจได้วาจะเลือกสร้างใหม่หรือรีโนเวทบ้าน นั่นก็คือ การตรวจสอบโครงสร้างของบ้านในปัจจุบัน หากบริเวณโดยรอบบ้านมีรอยแยกแตกร้าว เริ่มผุพัง หรือคิดว่าตัวบ้านของคุณมีอายุมากเกินที่จะรีโนเวทแล้ว เราจะแนะนำให้คุณเลือกที่จะสร้างใหม่เพื่อความปลอดภัยของผู้อยู่อาศัย อย่างไรก็ตาม เพื่อความแน่ใจว่าบ้านของคุณยังมีโครงสร้างแข็งแรงดีอยู่หรือไม่ แนะนำให้ติดต่อวิศวกรที่ชำนาญการมาเป็นผู้ประเมินโครงสร้างให้จะได้ผลลัพท์ที่ถูกต้องที่สุด

3. สำรวจที่ดินและพื้นที่ว่าง

หากสำรวจดูแล้วบริเวณโดยรอบบ้านของคุณยังมีที่ดินและพื้นที่ว่างเหลือพอสำหรับการรีโนเวทบ้านเพิ่มเติม คุณก็สามารถตัดสินใจลงมือได้ไม่ยาก แต่ถ้าหากคุณไม่มีพื้นที่เหลือแล้ว การทุบตัวอาคารออกบางส่วนเพื่อต่อเติมเพิ่ม ก็อาจคุ้มค่ากว่าการรื้อสร้างใหม่ แต่ถ้าการต่อเติมของคุณเป็นรูปแบบแนวตั้งเพื่อเพิ่มจำนวนชั้น และโครงสร้างอาคารของคุณไม่สามารถรับน้ำหนักเพิ่มได้แล้ว การทุบแล้วสร้างใหม่นับว่าเป็นตัวเลือกที่สร้างความปลอดภัยให้คุณได้มากกว่าการรีโนเวทบ้าน แต่ก็อาจแลกมาด้วยค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นกว่าเดิม

4. คำนวณงบประมาณที่มี

หัวใจสำคัญของการแปลงโฉมบ้านของคุณนั่นก็คือ งบประมาณ ซึ่งคุณควรคำนวณงบประมาณที่มีให้พร้อมก่อน แล้วจึงตรวจสอบดูว่าเงินก้อนที่คุณมีนั้นเพียงพอต่อความต้องการในด้านไหนมากกว่ากัน โดยค่าใช้จ่ายที่ต้องคำนึงก่อนเริ่มดำเนินการในส่วนงามต่างๆ มีดังนี้

สำหรับรีโนเวทบ้าน

  • งานสถาปัตยกรรม และวัสดุตกแต่ง
  • งานระบบสาธารณูปโภค ระบบน้ำ ระบบไฟฟ้า (บางส่วน)
  • งานโครงสร้าง (บางส่วน)
  • งานตกแต่งภายใน (บางส่วน) home

สำหรับรื้อสร้างใหม่

  • งานรื้อถอน
  • งานสถาปัตยกรรม และวัสดุตกแต่ง
  • งานระบบสาธารณูปโภค ระบบน้ำ ระบบไฟฟ้า (ทั้งหมด)
  • งานโครงสร้าง (ทั้งหมด)
  • งานตกแต่งภายใน (ทั้งหมด)
  • ค่าเช่าที่อยู่อาศัย (กรณีที่คุณไม่มีที่อยู่สำรอง)
จะสังเกตได้ว่าสำหรับการรื้อถอนสร้างใหม่จะมีค่าใช้จ่ายที่มากกว่าการรีโนเวทบ้าน ซึ่งเสียค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงแค่บางส่วน ดังนั้น คุณจึงต้องประมาณการค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในการปรับปรุงบ้านในครั้งนี้ให้ดี

5. ปรึกษาผู้เชี่ยวาญ

เมื่อแผนการปรับปรุงบ้านของคุณเริ่มเป็นรูปเป็นร่าง ขั้นตอนสุดท้ายก่อนเริ่มดำเนินการนั่นก็คือ การปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ ได้แก่ สถาปนิก และวิศวกร ซึ่งจะช่วยให้คุณเห็นภาพรวมของบ้านได้มากขึ้น และรู้รายละเอียดในเรื่องของค่าใช้จ่ายอย่างชัดเจน โดย สถาปนิก จะเป็นผู้รับฟังรูปแบบของบ้านที่คุณเตรียมไว้ รวมถึงประเมินความเป็นไปได้ของบ้านที่คุณต้องการ และจะทำการร่างแบบออกมาเพื่อให้คุณเห็นภาพ นอกจากนี้ยังมีในเรื่องของการตกแต่งภายใน รวมถึงปรับฟังก์ชั่นต่างๆ ทั้งหมดภายในบ้าน ต่อมาจะเป็นหน้าที่ของ วิศวกร ที่จะประเมินโครงสร้างที่สถาปนิกออกแบบว่าเป็นไปได้แค่ไหน จะมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยประมาณเท่าไหร่ ซึ่งในจุดนี้จะเป็นตัวช่วยตัดสินใจได้เป็นอย่างดีว่าคุณจะเลือกรีโนเวทบ้าน หรือสร้างใหม่ไปเลย เพราะหากบ้านของคุณต้องทำการปรับโครงสร้างครั้งใหญ่ อาจมีราคาเทียบเท่ากับสร้างใหม่ทั้งหลัง ซึ่งจะเพิ่มความแข็งแรงและความปลอดภัยให้กับตัวบ้านมากกว่า บ้านจัดสรร เมื่อทำการปรึกษาเรียบร้อย คุณน่าจะได้ข้อสรุปกับตัวเองแล้วว่าจะเลือกรีโนเวทหรือสร้างใหม่กันแน่ แล้วจึงนำแบบบ้านที่มีไปปรึกษาต่อกับผู้รับเหมา ซึ่งจะเป็นผู้ที่ดำเนินการก่อสร้างตามแบบที่สถาปนิกออกแบบ โดยมีวิศวกรเป็นผู้ดูแลงานและควบคุมโครงสร้าง เท่านี้บ้านในฝันของคุณก็กำลังจะเสร็จสมบูรณ์เป็นรูปเป็นร่างแล้ว

สรุป

จากข้อมูลเหล่านี้ทุกคนก็น่าจะได้ตัวเลือกในใจกันแล้วว่าจะรีโนเวทบ้านหรือรื้อสร้างใหม่ นอกจากการปรับปรุงเพื่อการใช้งานแล้ว อีกหนึ่งสิ่งที่ลืมไม่ได้เลยคือ ความปลอดภัยและความแข็งแรงของตัวบ้าน