รีวิวบ้านโมเดิร์น
รีวิวบ้านโมเดิร์น
รีวิวบ้านโมเดิร์น บ้านโมเดิร์น โฟกัสสายตากับหลังคาเฉียงChia House เป็นบ้านเดี่ยว 2 ชั้นครึ่งบน ‘บังกะโลล็อต’ ใน Cyberjaya ประเทศมาเลเซีย ในบ้านเราบังกะโลเป็นศัพท์ที่ค่อนข้างเก่าสำหรับใช้เรียกที่พักตากอากาศ แต่ในมาเลเซียคำว่า ‘บังกะโลล็อต’ หมายถึงแปลงที่อยู่อาศัยในเขตชานเมือง ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะอยู่ระหว่าง 700 ถึง 1,000 ตารางเมตร โดยที่พื้นที่ที่สร้างนั้นจะต้องมีระยะร่นและข้อปฏิบัติตามกฎหมายรอบปริมณฑล สำหรับที่ดินแถบนี้เป็นแปลงใหญ่เรียงสลับกันไปมา แทบไม่มีทิวทัศน์ให้เห็น ยกเว้นบ้านของคนอื่นและสวนรอบบ้าน
จึงต้องการความเป็นส่วนตัว ในขณะที่ผู้อยู่อาศัยก็ต้องการความรู้สึกเปิดกว้าง ความขัดแย้งนี้จะลงตัวได้อย่างไรต้องไปชมกันครับบ้านนี้อยู่ที่เซปัง รัฐสลังงอร์ ประเทศมาเลเซีย เจ้าของบ้านมีโจทย์ว่า ต้องการพื้นที่ใช้สอยแบบเปิดโล่งที่ดูมีชีวิตชีวา มาพร้อมแสงธรรมชาติที่ส่องเข้ามาอย่างเต็มที่
ให้บรรยากาศสำหรับการอยู่อาศัยแบบครอบครัวร่วมสมัย แนวคิดของสถาปนิกจึงตั้งใจทำแผนผังให้โปร่งมีลานภายใน เพื่อให้บ้านได้รับแสงแดดมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ผ่านแผงกระจก ที่มีการกำหนดตำแหน่งอย่างระมัดระวัง โดยพยายามไม่ให้กระทบต่อความเป็นส่วนตัว จากภายนอกจะเห็นการประสานของแผงกระจกเต็มความสูงกับงานอิฐเปลือย ในขณะที่หลังคาลาดเอียงขนาดใหญ่ออกแบบให้ตอบสนองต่อสภาพอากาศแบบเขตร้อนชื้น ให้น้ำฝนไหลลงไปยังถังเก็บน้ำที่อยู่ด้านหลังบ้านอย่างรวดเร็วที่สุด
อาคารถูกแบ่งเป็น 2 หลังหลัก ๆ คือส่วนที่สองสองชั้นมีที่ว่างโล่งๆ ด้านล่างเป็นใต้ถุนกับอาคารสามชั้น ซึ่งจะมีคอร์ดยาร์ดขนาดเล็กแทรกเข้าไปในแปลน ลานนี้นอกจากแบ่งปริมาตรบ้านออกเป็นสองส่วน ยังเป็นกลยุทธ์ที่จะให้อาคารสองชั้นที่อยู่ติดถนนด้านหน้า ซ่อนพื้นที่หลักของบ้านเมื่อมองจากถนน ให้ความเป็นส่วนตัวแก่ผู้อยู่อาศัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ส่วนที่เป็นบ้านสามชั้นเป็นโครงคอนกรีตเสริมเหล็ก แต่ส่วนที่เหลือเป็นโครงเหล็ก I Beam เป็นหลัก ในขั้นต้นตัวคานและเสาเหล็กจะออกแบบให้ขนาดเท่ากัน เพื่อให้โครงสร้างมีความสม่ำเสมอและเรียบร้อยทั่วทั้งบ้าน อย่างไรก็ตามเมื่อคำนวณดูแล้วจะทำให้เหล็กสิ้นเปลือง และเป็นวัสดุที่ใช้คาร์บอนฟุตพริ้นท์สูงในการผลิต จึงเลือกใช้ขนาดที่สอดคล้องกับการรับน้ำหนักและภาษาสถาปัตยกรรม รวมถึงจังหวะของบ้านเท่านั้น
ภายใน Chia House เป็นแบบเปิดโล่ง open plan อาบด้วยแสงธรรมชาติ ตอบความคาดหวังที่จะทำให้บ้านกว้าง สว่าง และยืดหยุ่นมากที่สุด ชั้นล่างประกอบด้วยห้องนั่งเล่น ห้องรับประทานอาหารและห้องครัว ที่ต่อเนื่องในระนาบแนวนอนเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่อย่างต่อเนื่อง ภายใต้เพดานไม้ที่ลาดเอียงซึ่งเปิดโล่งเชื่อมต่อขึ้นไปในแนวตั้งแบบ Double Height ที่เห็นที่ชั้นล่างขยายไปถึงชั้นบน รับกับแผงกระจกที่วางอยู่ในจังหวะที่เข้ากับข้อกำหนดด้านแสงธรรมชาติของแต่ละพื้นที่ โดยมีทั้งกระจกแบบติดตายและบานเกล็ดกระจกสลับกัน
บันไดที่เชื่อมระหว่างทั้งสามชั้นของบ้าน ถูกวางไว้อย่างเด่นชัดข้างลานบ้าน เป็นบันไดโครงสร้างเหล็กสีดำกรุทับด้วยไม้สีน้ำตาล ออกแบบรูปทรงแบบบันไดหักกลับเพื่อสร้างเส้นซิกแซกเมื่อมองเข้ามาจากด้านนอก ข้าง ๆ บันไดเป็นผนังกระจกสูงเต็มพื้นที่สองชั้น จึงรับแสงได้เต็มพิกัด พร้อมให้มุมมองอันสวยงามภายนอกได้ตลอดเวลาทั้งช่วงที่เดินขึ้นและเดินลง
บันไดจะเป็นเสมือนกระดูกสันหลังของบ้าน นำไปสู่พื้นที่ใช้สอยที่เปิดโล่งในแต่ละชั้นก่อนจะถึงห้องนอน บ้านนี้มีห้องนอน 3 ห้องที่ชั้นหนึ่งและห้องชุดที่มีลักษณะเหมือนอพาร์ตเมนต์ที่ชั้นบนสุด นอกจากนี้ยังมีห้องนั่งเล่นและห้องเตรียมอาหารที่ชั้นบน ซึ่งเชื่อมต่อโดยตรงกับห้องนอนด้วย พื้นที่ใช้สอยเหล่านี้มีลักษณะเหมือนห้องโถงโล่งๆ ที่มีอากาศถ่ายเท ความสูงและโปร่งเอื้อให้มวลอากาศร้อนจากชั้นล่างลอยตัวขึ้นสู่ที่สูงได้ดี และปล่อยระบายออกไปจากตัวบ้านผ่านช่องเปิดต่างๆ ในระดับที่สูงขึ้น
สีของวัสดุของบ้านทั้งหลังคลุมโทนขาว น้ำตาลเข้มจากงานไม้เนื้อแข็งในพื้นถิ่น และอิฐโชว์แนวสีแดงอมส้ม ให้ความรู้สึกอบอุ่นแบบร่วมสมัย ในขณะเดียวกันก็มีเส้นสายสีดำของเหล็กและบานเกล็ดติดตั้งเรียงยาวเป็นแนว เพิ่มความรู้สึกคมชัดแบบโมเดิร์น บ้านจึงไม่เชยมาก
บ้านไม้แท้ ให้ความรู้สึกอบอุ่นก็จริง แต่ก็มีบางอารมณ์ที่ทำให้ภาพรวมของบ้านดูทึมทึบ คลาสสิค ไม่ทันสมัย ซึ่งลักษณะการติดตั้ง สี และดีไซน์ของบ้านก็มีส่วนที่จะทำให้บ้านดูเชยหรือไม่ ตัวอย่างเช่น บ้านสไตล์มินิมอลจะเหมาะกับการใช้ไม้ที่มีเนื้อสีขาว หรือสีอ่อน ๆ ตัดเป็นเส้นเล็ก ๆ ตีเรียงกันไปแบบเว้นช่องว่างเล็กน้อย ทำให้รู้สึกถึงความสว่างและโมเดิร์น แต่ถ้าเนื้อไม้ทำสีเข้ม จะยิ่งทำให้ลุคของบ้านดูมีอายุร่วมสมัยมากขึ้น รวมถึงวิธีการตีไม้ฝาแบบซ้อนเกล็ดแผ่นใหญ่ ๆ ก็ทำให้บ้านดูตกยุคได้เช่นกัน
บ้านโมเดิร์น วัสดุธรรมชาติ จัดแสงสวยยามค่ำคืน
บ้านโดยปกติทั่วไปเจ้าของบ้านมักจะนึกภาพตัวบ้านที่เด่นชัดสวยงามในช่วงเวลากลางวันเป็นหลัก ซึ่งงานดีไซน์และตัววัสดุที่มาประกอบเป็นบ้าน จะสร้างจุดเด่นให้ผู้คนที่ผ่านไปมาได้เห็นได้ชัด ๆ แต่ในสายตาของสถาปนิกจะไม่ยอมให้บ้านสวยเพียงช่วงเวลาเดียว เพราะบ้านสามารถดูดีได้ทุกช่วงเวลา การตกแต่งภายในภายนอกบ้านด้วยแสงไฟประดิษฐ์ จึงมีส่วนสำคัญมากที่ทำให้บ้านดูเหมือนเปล่งประกายออกมาจากบริเวณล้อมทำให้ยิ่งมืดก็ยิ่งสวยเหมือนที่เราจะได้เห็นในบ้านหลังนี้
Casa Kalyvas สร้างอยู่ในประเทศเม็กซิโก บนพื้นที่กว่า 900 ตร.ม. แนวคิดหลักคือการสร้างช่วงเวลาที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้นกับองค์ประกอบทางธรรมชาติ โดยให้ความสมดุลระหว่างบ้านกับทัศนียภาพอันงดงามของสภาพแวดล้อม ดังนั้นสิ่งที่สำคัญคือ ต้องจัดการทุกมุมของบ้านให้ผสมผสานเข้ากับสภาพแวดล้อมได้อย่างสมบูรณ์ สถาปนิกจึงแบ่งโครงสร้างอาคารออกเป็น 5 ส่วนในรูปร่างตัว U เพื่อหลีกแนวของต้นไม้นานนาพันธู์ที่อยู่มาก่อน และเลือกใช้วัสดุธรรมชาติ ซึ่งประกอบด้วย คอนกรีต กระเบื้อง หินที่มีอยู่ในภูมิภาค ไม้ parota และคานเหล็กที่ล้อมรอบงาน ซึ่งช่วยซ่อนสถาปัตยกรรมเข้ากับต้นไม้ที่รายล้อมได้อย่างดี
การออกแบบบ้านหลังนี้ไม่ได้จบลงด้วยขอบเขตสิ่งก่อสร้างหรือตัวอาคารแล้วจบลงเท่านั้น แต่ยังให้ความสำคัญกับขอบเขตสิ่งแวดล้อมนอกตัวบ้าน ซึ่งเต็มไปด้วยทัศนียภาพของพื้นที่สีเขียว ทั้งสนามหญ้า สวน และต้นไม้ใหญ่ เราจะเห็นพื้นที่รอบบ้านที่เต็มไปด้วยช่องว่างเชื้อเชิญให้ธรรมชาติเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของสถาปัตยกรรม ส่วนหนึ่งของหลังคาบ้านถูกเจาะ เพื่อโอบล้อมตัวต้นไม้เอาไว้
กิ่งก้านของต้นไม้อันใหญ่โตที่ตกกระทบผนังเพิ่มการเล่นของแสงที่เปลี่ยนไปในแต่ช่วงของวัน และทำให้บ้านกับธรรมชาติเป็นหนึ่งเดียวกันสระว่ายน้ำถูกวางตำแหน่งเอาไว้ตรงใจกลางระหว่าง 2 ปีกอาคารตัว U เพื่อความเป็นส่วนตัว และยังมีผนังน้ำตกคอยทำหน้าที่ปกป้องโซนใช้งานกลางแจ้งจากสายตาผู้คนที่อาจจะผ่านไปมา การได้แหวกว่ายในน้ำเย็น ๆ ฟังเสียงที่ผ่อนคลายของน้ำพุพร้อมรับสายลมเย็น ๆ
ที่แทรกผ่านร่มไม้เข้ามาช่างสุขใจจริงๆรูปทรงเรขาคณิตที่มีรูปทรงตรงไปตรงมา แต่มีส่วนที่เป็นเหมือนแขนยื่นยาวออกมา ช่วยให้สามารถสร้างมุมมองที่แตกต่างกันอย่างเป็นเอกลักษณ์ อย่างในชั้นล่างที่มีส่วนของห้องนั่งเล่นกึ่งกลางแจ้งไม่มีผนังยาวๆ ทำให้เรามีพื้นที่เปิดโล่ง สว่างไสว แต่ในขณะเดียวกันก็มีความเป็นส่วนตัวมากในอีกด้านที่หันข้างหรือหันหลังให้ถนน สำหรับชั้นบนก็มีส่วนที่เปิดรับวิวสระว่ายน้ำ วิวสวน รับแสงธรรมชาติ ท้องฟ้า สายลม แสงแดด และใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่ในทุก ๆ ด้านอย่างมีประสิทธิภาพ
ภายในบ้านจะเห็นรายละเอียดการตกแต่งที่ล้อไปกับภายนอก ซึ่งยังคงเลือกใช้รายละเอียดของงานคอนกรีตโชว์กริดไลน์ธรรมชาติและการจัดเรียงของหิน และไม้ที่หาได้ในพื้นถิ่นเป็นพื้นฐานสำหรับ Casa Kalyvas โดยแต่ละจุดของบ้านจะมีความลื่นไหลต่อเนื่องกันไปยังโซนใช้งานที่แตกต่าง โดยมีห้องนั่งเล่นสูงสองชั้นเป็นเหมือนหัวใจที่จะกระจายตัวออกไปยังส่วนอื่นๆ ของบ้าน ทุกจุดของบ้านสามารถมองเห็นและซึมซับความสดชื่นของธรรมชาติได้ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ผ่านผนังกระจกที่ล็อคมุมมองมองมาอย่างดี
จากความสวยงามที่สัมผัสได้ผ่านพื้นผิวของผนังอาคารที่ไม่เหมือนกันและต้นไม้ เริ่มต่างออกไปในช่วงเวลากลางคืนที่ความมืดมาเยือน เพราะเมื่ออาทิตย์ลาไปเหลือเพียงความสลัว ยิ่งมืดเท่าไหร่แสงไฟประดิษฐ์ที่อยู่ทั้งรอบ ๆ บ้าน ในสวน และในตัวบ้านต่างก็แข่งกันเปล่งประกายออกมาในรูปแบบต่าง ๆ
สร้างบรรยากาศที่เต็มไปด้วยชีวิตชีวา เหมือนหิ้งห้อยยักษ์ที่สร้างความสว่างไสวอยู่ในใจกลางธรรมชาติแสงเป็นส่งประกอบที่สำคัญของบ้าน ในช่วงกลางวันเราจะใช้แสงธรรมชาติที่มีประโยชน์กับตัวบ้าน ทั้งในแง่ของการเพิ่มความสว่าง การลดความชื้นและฆ่าเชื้อโรค จึงต้องมีช่องแสงและช่องเปิดในส่วนต่างๆ ของบ้าน ส่วนกลางคืนจะต้องพึ่งพาแสงไฟประดิษฐ์ ซึ่งการเลือกใช้แสงไฟไม่จำเป็นต้องเใช้ไฟประเภทเดียว
หรือโทนสีเดียว บางจุดอาจจะใช้ไฟสีโทน Cool บางจุดใช้สี warm รูปแบบทิศทางการส่องของไฟเป็น Downlight ส่องจากด้านบนลงข้างล่าง หรือแบบไฟ uplight ส่องจากด้านล่างขึ้นข้างบนที่นิยมใช้ส่องเฉพาะจุด หรือใช้ไฟ LED ซ่อนตามแนวคาน เพดาน บันได หรือห้องน้ำ ที่ให้ความรู้สึกเบาลอย เจ้าของบ้านจะนำไปมิกซ์แอนด์แมตช์ให้เหมาะกับการใช้งาน
บ้านโมเดิร์นทรอปิคอล มีต้นไม้และแสง ผุดขึ้นใจกลางบ้าน
บ้านหลังนี้ออกแบบเพื่อรวบรวมความเป็นตัวตนของผู้อยู่อาศัยและภูมิหลังทางวัฒนธรรมในอินเดีย มาผสมรวมกับองค์ความรู้ในงานสถาปัตยกรรม ทำให้บ้านกลายเป็นพื้นที่เก็บความทรงจำในประสบการณ์การอยู่อาศัยใหม่ ๆ ที่ยังคงกลิ่นอายความเป็นพื้นถิ่นแต่อยู่สบายในเขตร้อน ไซต์นี้ตั้งอยู่บนพื้นที่ 60 X 40 เมตร ในบังกาลอร์ตะวันออกเฉียงใต้ สำหรับครอบครัววัยหนุ่มสาว 5 คนและสุนัข 1 ตัว ซึ่งแนวทางการออกแบบของสถาปนิกคือ ปล่อยให้ลำดับชั้นของการทำงาน ความต้องการ และสภาพอากาศเป็นตัวกำหนดรูปแบบของบ้าน โดยมีจุดมุ่งหมายให้บ้านกลายเป็นส่วนต่อขยายพื้นที่กิจกรรมของครอบครัวที่ใช้ชีวิตได้อย่างเพลิดเพลินทุกมุม
เนื่องจากรากเหง้าของเจ้าของบ้านอยู่ในอินเดีย อิทธิพลของสถาปัตยกรรมเขตร้อนจึงเกิดขึ้นทุกจุดในบ้าน สามารถเห็นได้ตั้งแต่ด้านหน้าอาคาร ด้วยการใช้หลังคาแบบจั่ว วัสดุส่วนใหญ่ประกอบด้วยอิฐสีแดงเปลือย ผิวคอนกรีต ไม้ และหินโกตะสีเหลือง สร้างส่วนผสมที่เป็นธรรมชาติ เรียบง่าย อบอุ่น และโอบรับกลิ่นอายความเป็นพื้นถิ่นโดยพร้อมเพรียงกัน ต่อประสานกับการออกแบบองค์ประกอบสมัยใหม่ เพื่อให้บ้านอยู่สบายแม้สภาพแวดล้อมจะร้อนและแล้ง
เมื่อเข้าไปในบ้าน ดวงตาทุกคู่จะจับจ้องไปที่ความใหญ่โตของต้นไม้ธรรมชาติ ที่สูงจากพื้นทะลุเพดานที่เจาะเป็นโถงสูงสองเท่า และปริมาณแสงแดดที่ส่องผ่านช่องรับแสงรูปตัว L บนหลังคาอย่างเป็นธรรมชาติ ในขณะที่พื้นใส่การเล่นระดับระหว่างที่อยู่อาศัยและลานบ้านภายใน ซึ่งความแตกต่างของระดับไม่เพียงเน้นที่ลานภายในเท่านั้น
แต่ยังแบ่งเขตพื้นที่ออกจากกันโดยไม่ต้องก่ออิฐแบ่งสัดส่วนฟังก์ชันออกเป็นห้องเล็กห้องน้อยด้วยน้องสุนัขเป็นเหมือนสมาชิกในบ้านคนหนึ่งที่มีสิทธิ์ใช้พื้นที่บ้านด้วยเช่นกัน พื้นบ้านจึงส่วนที่เป็นหินเย็น ๆ และแผ่นพื้นที่ไม่ลื่น ทำให้น้องสุนัขสามารถนอนเล่นภายในบ้านได้ทั้งวัน โดยไม่ต้องใช้ชีวิตนอกบ้านท่ามกลางแสงแดดร้อนๆ
ในแง่ของโจทย์ เจ้ของบ้านต้องการห้องส่วนตัวสำหรับสมาชิกทุกคน ในขณะที่ยังมีพื้นที่ที่ครอบครัวสามารถมาร่วมกันทำกิจกรรมร่วมกันได้ นอกจากนี้ ในฐานะผู้รักธรรมชาติ พวกเขาต้องการผสมผสานพื้นที่สีเขียวและแสงธรรมชาติเข้าไว้ด้วยกันให้ได้มากที่สุด นำไปสู่การสร้างคอร์ทยาร์ดในพื้นที่ส่วนกลางสำหรับครอบครัวเป็นแกนกลางของบ้าน แล้ววางฟังก์ชันใช้งานอื่นๆ ทั้งหมดไม่ว่าจะเป็น ห้องนั่งเล่น ห้องทานข้าว ห้องครัว ห้องนอนเอาไว้รอบๆ ลานภายในทั้งชั้นล่างและชั้นบน ไม่ว่าจะอยู่ส่วนไหนก็รับมุมมองลานบ้านได้หมด
คอร์ทยาร์ดและการปลุกต้นไม้ลงในตัวบ้าน เป็นแนวคิดใหม่ ๆ ในงานสถาปัตยกรรมที่นำเอาพื้นที่กลางแจ้งมาเก็บไว้ภายในแบบ inside out-outside in จนบางครั้งก็แยกไม่ออกว่ามีบ้านอยู่ในสวนหรือสวนอยู่ในบ้าน
การเจาะเพดานออกเพื่อเชื่อมต่อพื้นที่แนวตั้งให้กลายเป็นลานโถงสูงนี้ นอกจากสร้างจุดโฟกัสโอบล้อมต้นไม้ให้โตไปพร้อมบ้านแล้ว ยังมีประโยชน์ในแง่ของการควบคุมสภาพอากาศภายในบ้าน เพราะจะเป็นช่องทางเอื้อให้อากาศร้อนลอยตัวขึ้นสู่ที่สูง และไหลออกจากบ้านได้ดีผ่านช่องระบายอากาศโดยตรงในสามด้านของบ้านทางทิศเหนือ ทิศใต้ และทิศตะวันออก ช่วยลดความร้อนสะสม สถาปนิกยังติดตั้งกังหันหมุนวนที่ขับเคลื่อนด้วยลมเหนือสกายไลท์ ยิ่งช่วยอากาศร้อนออกจากตัวอาคารได้เร็วขึ้นอีกภูเก็ต