บ้านชั้นเดียวนอร์ดิก
บ้านชั้นเดียวนอร์ดิก
บ้านชั้นเดียวนอร์ดิก บ้านนอร์ดิก กลมกลืนธรรมชาติ ประตูหน้าต่างเด่นโดดหากผู้อ่านมีโอกาสได้เป็นเจ้าของพื้นที่ที่เต็มไปด้วยธรรมชาติ และต้องการสร้างบ้านเอาไว้สำหรับแวะมาพักผ่อนสักหลัง จะเลือกสร้างบ้านหน้าตาแบบไหนกันบ้างครับ แน่นอนว่าความชอบคนเรานั้นมีหลากหลาย บ้านก็คงมีดีไซน์ที่ต่างกันไป อย่างไรก็ตาม
พบเจอกับบ้านในหลายโปรเจ็คที่เน้นองค์ประกอบของบ้านให้มีความกลมกลืนกับธรรมชาติ ไม่ว่าจะด้วยโทนสีหรือวัสดุ ความอ่อนน้อมถ่อมตนต่อธรรมชาติ ทำให้บ้านและสิ่งแวดล้อมเหมือนจูงมีเติบโตไปด้วยกันอย่างน่ามอง สำหรับใครที่กำลังมองหาแนวคิดการสร้างบ้านแบบที่ว่า โครงการบ้านสามหลังนี้ก็เป็นอีกหนึ่งแนวทางที่พร้อมให้เก็บเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างบ้านได้ครับกลางท้องทุ่งใกล้กับริมทะเลสาบของวานาคา ประเทศนิวซีแลนด์
ที่มาพร้อมรายละเอียดที่ไม่เหมือนบ้านหลังอื่น ตั้งแต่หลังคาสีเขียวที่เข้ากับแนวต้นไม้เขียวๆ โดยรอบ สร้างรูปลักษณ์อาคารหน้าจั่วแบบนอร์ดิก 2 หลัง และบ้านหลังคาแหลมสูงเหมือนบ้านจั่วถูกตัดออกครึ่งหนึ่งรูปร่างคล้ายสิ่ว พื้นที่รวม 170 ตร.ม. แม้จะดูเหมือนกลุ่มบ้านหลังเล็ก ๆ 3 หลัง แต่ภายในสามารถรองรับผู้มาเยือนได้สิบคนสบาย ๆ มีห้องนอนเตียงใหญ่ 2 ห้อง ห้องใต้หลังคาสำหรับสองคน และห้องสองชั้นพร้อมเตียงสี่เตียง คลิ๊กที่นี่
ส่วน Façade เน้นองค์ประกอบของกรอบประตูไม้ที่มีซับวงกบขนาดใหญ่ และหน้าต่างที่เป็นเหมือนกล่องยื่นออกมาจากผนังสีมัสตาร์ดตัดกับผนังสีน้ำตาลเข้ม เป็นเบย์วินโดว์สำหรับนั่งเล่น อ่านหนังสืออยู่ในส่วนของห้องพักผ่อน
ด้านนี้ของบ้านเทพื้นคอนกรีตสีเข้มผสานเข้ากับพื้นปูด้วยแผ่นหินที่หาได้ในท้องถิ่น สีธรรมชาติอ่อนๆ ตัดกับผืนหญ้าเขียว ๆ มีโถงทางเดินไม้ติดตั้งแบบลอยตัวน่าสนใจ ก่อนนำเข้าไปสู่ภายในที่กรุด้วยไม้บีชไม่ทำสีทั้งหลัง
ด้วยความตั้งใจเดิม บ้านนอร์ดิกที่จะใช้ที่นี่เป็นสถานที่พักผ่อนและเน้นการใช้พื้นที่ด้านสังคมมากเป็นพิเศษ ดังนั้นส่วนที่ขับเคลื่อนกิจกรรมในบ้านหลัก ๆ ในช่วงกลางวันจะมีอยู่ที่มุมนั่งเล่นและครัว จากโถงประตูบ้านเดินตรงเข้ามาจึงพบกับห้องนั่งเล่นขนาดใหญ่ที่รอต้อนรับด้วยบรรยากาศอบอุ่นเป็นมิต รจากการตกแต่งด้วยงานผ้า โซฟาหนานุ่ม ของตกแต่งวัสดุธรรมชาติ และงานไม้บริเวณผนังไปจนถึงฝ้าเพดานที่กรุด้วยไม้ระแนงเส้นเล็ก ๆ
ถัดจากห้องนั่งเล่นจะเป็นครัว ซึ่งเต็มไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกในการเตรียมปรุงอาหารแบบจัดเต็ม และดูโปร่ง สว่าง น่าใช้งาน สถาปนิกกำหนดให้ครัวและโซนรับประทานอาหารมีขนาดใหญ่วางตำแหน่งตั้งฉากกัน โดยยังมีการเชื่อมต่อเข้าถึงถึงกันได้ผ่านโถงทางเดินโล่งๆ ทำให้แต่ละฟังก์ชันมีความเป็นสัดส่วน กลิ่น ควัน และความโกลาหลยามเตรียมปรุงอาหารไม่รบกวนพื้นที่พักผ่อน แต่ก็ไม่ถูกตัดขาดออกจากกันเสียทีเดียว
หากมองภาพรวมของครัวและห้องนั่งเล่นจากด้านนอก จะเห็นตำแหน่งของทั้งห้องนั่งเล่นและครัวที่ชัดเจน โดยทั้งสองห้องจะมีประตู หน้าต่าง ช่องแสงกระจกโปร่งๆ ในบริเวณกว้าง หันหน้าออกไปยังลานกลางแจ้ง ทำให้พื้นที่พักผ่อน การทำอาหารและการรับประทานอาหารเชื่อมโยงกับภูมิทัศน์อย่างใกล้ชิด
ปกติแล้วเราจะรู้จักวงกบ ซึ่งเป็นส่วนของกรอบตรงประตูหรือหน้าต่าง ทำหน้าที่คอยช่วยรองรับการยึดติดบานประตูหน้าต่าง และรับแรงกระแทกจากการปิดประตู แต่ซับวงกบหลายคนอาจยังไม่คุ้นเคย เพราะจะเป็นส่วนตกแต่งทับวงกบประตูหน้าต่าง เพื่อปกปิดรอยต่อที่ไม่สวยงาม หรือปกปิดสีวงกบที่ไม่เหมือนประตู อาจจะเป็นลักษณะคิ้ว บัว หรือแผ่นไม้เรียบ เพิ่มกรอบประตูหน้าต่างให้วงกบให้เรียบร้อยและหนาขึ้น ตัวอย่างในบ้านนี้ก็ใช้ไม้ติดเพิ่มเข้าไปตกแต่งวงกบให้ยื่นออกมาเป็นกรอบสายตาที่ดูมีมิติเห็นเด่นชัด
ข้อดีของบ้านชั้นเดียว
1. งบประมาณน้อยกว่า
มีงบประมาณไม่เยอะมาก สามารถซื้อบ้านชั้นเดียว หรือออกแบบบ้านชั้นเดียวขนาดกะทัดรัดได้ เนื่องจากโครงสร้างหลักของบ้านไม่ซับซ้อนมากนัก หากเปรียบเทียบกับการสร้างบ้าน 2 ชั้น ค่าก่อสร้างจึงต่ำกว่า
2. ตอบโจทย์ครอบครัวที่มีสูงอายุ/เด็กเล็ก
บ้านชั้นเดียวเหมาะสำหรับครอบครัวที่มีผู้สูงอายุและผู้ที่นั่งวีลแชร์ เพราะห้องต่าง ๆ แบบบ้านชั้นเดียวและพื้นที่ใช้สอยภายในบ้านถูกรวบรวมไว้ครบในชั้นเดียว จึงไม่ต้องปวดเมื่อยหรือเสี่ยงกับอุบัติเหตุจากการขึ้นลงบันได และยังสะดวกในกรณที่ใช้วีลแชร์ สำหรับครอบครัวที่มีเด็กเล็ก วัยกำลังซุกซน การอยู่อาศัยในบ้านชั้นเดียว ทำให้ไม่ต้องกังลหรือเฝ้าระวังว่าเด็ก ๆ จะปีนป่ายบันไดและผลัดตกลงมาได้รับบาดเจ็บ
3. สะดวกในการขนย้ายเฟอร์นิเจอร์
อยู่บ้านชั้นเดียว ไม่ต้องเหนื่อยกับการขนย้ายเฟอร์นิเจอร์ขึ้น-ลงบันได เพราะไม่ว่าจะเป็นเฟอร์นิเจอร์ชิ้นเล็กหรือชิ้นใหญ่ ก็จัดวางอยู่ที่ชั้น 1 ของบ้าน ช่วยทุ่นแรงได้มาก
4. ดูแลรักษาง่าย
ถูกใจคุณแม่บ้านพ่อบ้าน เพราะด้วยขนาดพื้นที่ของบ้านชั้นเดียว ทำให้ไม่ต้องใช้เวลาในการทำความสะอาดมาก ยิ่งถ้าต้องถึงเวลาที่ต้องรีโนเวทบ้าน ซ่อมแซมส่วนต่าง ๆ ของบ้านที่เสียหายหรือทรุดโทรม เช่น ซ่อมหลังคารั่ว ทาสีผนังใหม่ ก็สามารถทำได้สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย
5. ตกแต่ง/ต่อเติมง่าย
โครงสร้างบ้านชั้นเดียวนั้นไม่ได้ซับซ้อนมากนัก หากมีพื้นที่มากพอก็สามารถต่อเติมและดัดแปลงพื้นที่ได้สะดวกกว่า แต่ในการจะต่อเติมต้องดูว่าไม่ขัดต่อข้อกฎหมาย
ข้อด้อยของบ้านชั้นเดียว
1. ใช้ขนาดที่ดินค่อนข้างมาก
บ้านชั้นเดียวจะต้องใช้ขนาดที่ดินมากกว่าบ้านสองชั้น จึงจะได้พื้นที่ใช้สอยภายในบ้านตามต้องการ ทำให้ต้องเสียเงินซื้อที่ดินเพิ่มมากขึ้น หรือทำให้ราคาบ้านชั้นเดียวแพงขึ้น อีกทั้งหากอยากจะขยับขยายต่อเติมในอนาคต การมีขนาดที่ดินน้อยก็เป็นข้อจำกัดได้
2. ถ่ายเทความร้อนภายในบ้านได้ไม่ดี
ด้วยความที่ทุกห้องอยู่ติดกับหลังคาโดยตรง ทำให้ความร้อนจากหลังคาแผ่เข้ามาภายในบ้านโดยตรง แต่สามารถป้องกันความร้อนได้ด้วยการติดฉนวนกันความร้อน หรือติดแผ่นสะท้อนความร้อน หรือเลือกใช้กระเบื้องหลังคาสะท้อนความร้อน และออกแบบบ้านชั้นเดียวให้มีช่องระบายอากาศให้อากาศถ่ายเท
3. เสี่ยงน้ำท่วม/ความชื้น
บ้านชั้นเดียวอาจเสี่ยงต่อปัญหาน้ำท่วมได้ หากตั้งอยู่ในทำเลที่มีน้ำท่วมบ่อยครั้ง อาจะทำให้ตัวบ้านและทรัพย์สินภายในบ้านเกิดความเสียหายได้ รวมทั้งอาจต้องเจอกับปัญหาความชื้นของดิน ที่อาจทำให้เกิดปัญหาปลวกและเชื้อรา บ้านชั้นเดียวจึงควรสร้างให้ยกสูงจากพื้นดินประมาณ 0.80-1.20 เมตร
4. เสี่ยงต่อสัตว์มีพิษ/โจรขโมย
สัตว์เลื้อยคลาน แมลง หรือโจรขโมย มักจะชอบหมายปองบ้านขั้นเดียว เพราะเข้าสู่ตัวบ้านได้ง่าย ดังนั้นบ้านชั้นเดียวจึงควรทำรั้วบ้านให้แข็งแรง ติดตั้งวัสดุอุปกรณ์ป้องกันภัย และปิดบ้านให้มิดชิด
5. ความเป็นส่วนตัวค่อนข้างน้อย
บ้านชั้นเดียวแม้จะมีฟังก์ชั่นครบ แต่ด้วยพื้นที่ใช้สอยที่จำกัด และอยู่ในชั้นเดียวของบ้าน จึงอาจทำให้ความเป็นส่วนตัวลดลงได้ บ้านชั้นเดียวจึงเหมาะกับการอยู่อาศัยของครอบครัวขนาดเล็ก ในการออกแบบแปลนบ้าน อาจเพิ่มส่วนข้างบ้านเพื่อความผ่อนคลาย มีมุมส่วนตัวเพิ่ม ทำให้ไม่ให้รู้สึกอึดอัด
ข้อเด่นใน “บ้านสไตล์นอร์ดิก” ที่ควรมีไว้ เพราะมีความเหมาะสมกับบ้านเราไม่แพ้กัน
- หลังคาทรงสามเหลี่ยม มุมชัน 40-45 องศา สามารถทำได้ แต่ต้องเลือกวัสดุที่ดีเหมาะสม หลังคาทรงนี้จะช่วยให้กันความร้อนได้ดีกว่าแบบทรงโมเดิร์นอยู่แล้ว จึงเหมาะที่จะใช้งานได้ดีกับอุบลราชธานีบ้านเรา
- พื้นที่ใต้หลังคา และการยกฝ้าสูงตามมุมชันของหลังคา จริงๆ แล้วสิ่งนี้จะทำให้ “บ้านสไตล์นอร์ดิก” มีความโปร่งโล่ง แต่ควรจะเว้นระยะ ระหว่างฝ้ากับหลังคาบ้าง เพื่อเป็นพื้นกักเก็บความร้อนที่แผ่นลงมาจากหลังคา หรืออาจจะมีเพียงบางห้องที่ยกฝ้าลาดเอียงตามมุมชันก็ได้
- ภายในควรเน้นความเป็นธรรมชาติ มินิมอลนิดๆ โทนสีผสมไม้จริงบ้าง จะทำให้มีกลิ่นไอของ “บ้านสไตล์นอร์ดิก” ได้ชัดเจนมากขึ้น
- ภาพรวมอาคาร เชื่อว่าหลายคนจะประทับใจ ด้วยรูปทรงที่ดูเรียบง่ายแต่มีรายละเอียด
ข้อควรระวังสำหรับดีไซน์ “บ้านสไตล์นอร์ดิก”
- ต้องออกแบบ มุม องศา ทิศลมและแดดให้ดี เพื่อลดภาระของเครื่องปรับอากาศ เนื่องจากการไม่มีชายคา และมีพื้นที่หลังคามาก ทำให้พื้นที่สัมผัสแดดสูงกว่าบ้านสไตล์อื่นๆ ในไทย
- หลังคาควรมีการติดตั้งฉนวนกันความร้อน และระบบฝ้าให้ระบายความร้อนได้สะดวก
- หากเป็นไปได้ ทางเราอยากแนะนำให้มีชายคาบ้าง แบบสั้นๆ แต่ก็จะช่วยได้มาก สำหรับกันน้ำฝนที่อาจจะรั่วซึมเข้าโดยง่ายบริเวณรอยต่อของหลังคากับผนัง
- หน้าต่างบานใหญ่ ทรงสูง อาจจะต้องอาศัยการวางทิศทาง หลบแดด เป็นสำคัญ เพราะหากรับแดดตะวันตกเข้าไป คงทำให้การอยู่อาศัยลำบากขึ้นมาก